ครัวไกลบ้านได้ทำการปรังปรุงเวบไซต์ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นในระบบสมาร์ทโฟน และได้รวมข้อมูลเมนูอาหารและ สมาชิกจากทั้งเวบไซต์เก่าและใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว

สมาชิกท่านไหนมีปัญหาไม่สามารถล็อกอินได้ ให้ทำการเปลี่ยนพาสเวิร์ดโดยคลิ๊กลิ้งค์นี้ ลืมรหัสผ่าน
ถ้าท่านใดมีชื่อสมาชิกมากกว่าหนึ่งชื่อแล้วต้องการรวมโพสทั้งหมดให้อยู่ในชื่อสมาชิกเดียว หรือมีปัญหาในการใช้เวบไซต์
สามารถส่งอีเมล์แจ้งรายละเอียดมาได้ที่ admin@kruaklaibaan.com หรือส่งข้อความได้ที่ user: sillyfooks

ถ้าชอบครัวไกลบ้าน อย่าลืมคลิ๊กไลค์เฟสบุ๊คให้ครัวไกลบ้านด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

ห้องนี้สำหรับสมาชิกพูดคุย ปรึกษาปัญหาเรื่องสุขภาพค่ะ

ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

โพสต์โดย Lukhgai » พุธ มิ.ย. 01, 2011 5:55 am

ปัจจุบัน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรที่มีอายุถึง 65 ปี จะยังคงสามารถดำรงชีพยืนยาวต่อไปได้ จะเห็นว่าตัวเลขดังกล่าวมีความสำคัญทั้งในด้านปัญหาสาธารณสุขและเศรษฐกิจ การได้ทราบถึงปัญหาทางสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดความเข้าใจ หาทางแก้ไขป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้

ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และอายุมากกว่า 80 ปี มีดังนี้1.
ความเสื่อมของสติปัญญา สาเหตุสำคัญได้แก่ ภาวะสับสน สมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้า การแยกหาสาเหตุจำเพาะเป็นสิ่งสำคัญ แต่บางครั้งทำได้ยากเนื่องจากมักจะพบสาเหตุร่วมกันได้บ่อย ดังนั้นจึงต้องคอยสอดส่อง และแก้ไขปัญหาทุกประการที่อาจเป็นสาเหตุพฤติกรรมที่อันตราย เช่น การเปิดเตาแก๊สทิ้งไว้ การออกไปโดยไร้จุดหมาย และหลงทาง ต้องได้รับการแก้ไขโดยการวางแผนการดูแลที่ดี แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาอาการเสื่อมของสมองอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การแก้ไขจุดบกพร่องและการลดยาที่ไม่จำเป็นทุกชนิด และการรักษาอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่ ยังเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งแพทย์สามารถช่วยเหลือได้ การเสื่อมลงของสติปัญญาอย่างเฉียบพลัน จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุเสมอโดยเฉพาะการใช้ยา หรืออาการเจ็บป่วยที่เป็นใหม่ อาการเจ็บปวดที่ดูจะไม่รุนแรงในคนทั่วไป มีผลกระทบต่อสมองของผู้ป่วยสูงอายุได้มาก เช่น ฝีใต้เล็บนิ้วเท้า ช่องคลอดอักเสบ หรือแผลกดทับ หรือแม้แต่การใช้ยาขนาดผิดปกติ และยาอื่นๆ ที่แพทย์ไม่ได้สั่ง ความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด ระดับน้ำตาล ฮอร์โมนไทรอยด์ และการขาดออกซิเจน การขาดอาหาร ท้องผูก ปัสสาวะไม่ออก ความเจ็บปวด การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมก็ล้วนมีผลเช่นกัน จึงต้องควรมองหาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย


อาการซึมเศร้า เกิดได้ 5-10% ของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย เช่น อัมพาต ผู้สูงอายุที่ไม่มีใครดูแล และเข้าอยู่ในบ้านพักคนชรา การวินิจฉัยอาการซึมเศร้าต้องพบว่ามีอารมณ์เศร้าไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ ร่วมกับมีอาการหลายอย่างต่อไปนี้ ได้แก่
◦ความผิดปกติของการนอน
◦ขาดความสนใจ
◦รู้สึกผิด
◦ขาดพลังงาน
◦ขาดสมาธิ
◦เบื่ออาหาร
◦อาการกระวนกระวายหรือนิ่งเฉย
◦ต้องการฆ่าตัวตาย
◦ผู้ป่วยอาการซึมเศร้าที่ได้รับการรักษาจากแพทย์อาการจะดีขึ้นมาก


2.
อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ชั่วคราวพบได้บ่อย เนื่องจากการขับปัสสาวะต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การเคลื่อนไหว ความรู้สึกตัว ความต้องการจะปัสสาวะ และการปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบภายนอกได้แก่ การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอดหรือทางเดินปัสสาวะฝ่อและอักเสบ และผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาหลายโรค เช่น ยาคลายเครียด ยารักษาอาการซึมเศร้า หรือยารักษาความดันบางชนิด ยาขับปัสสาวะเองทำให้ปัสสาวะมากก็อาจทำให้ปัสสาวะไม่ทันได้ นอกจากนี้ยังมีภาวะปัสสาวะไม่สะดวกเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งต้องตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


3.การหกล้ม ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยโดยเฉพาะเพศหญิง อัตราการหกล้มสูงถึง 30% ในแต่ละปี และสัดส่วนจะสูงขึ้นตามอายุ การทรงตัวและการลุกเดินต้องอาศัยการประสานงานกันของความรู้สึกตัว ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ การไหลเวียนของโลหิตและการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม การทรงตัวจะเสียไปและทำให้เซได้ง่ายในผู้สูงอายุทำให้หกล้มได้ง่าย ภาวะใดก็ตามที่มีผลกระทบของระบบทำงานดังกล่าว ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการหกล้มได้ เช่น ปอดบวม หัวใจขาดเลือด การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นลื่น เป็นต้น ยาและแอลกอฮอร์ เป็นสาเหตุเสริมที่พบได้บ่อย ยังพบว่าอาจเกิดจากภาวะความดันโลหิตต่ำหลังการรับประทานอาหาร 30-60 นาที (ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน) นอนไม่หลับ ปัสสาวะไม่ทัน ปัญหาของเท้า และอาการบวมก็เป็นปัญหาได้
สาเหตุสำคัญที่สุด คือ การเสียการทรงตัวและกลัวจะหกล้ม การทรงตัวที่ผิดปกติ อาจมีสาเหตุจากความเสื่อมตามอายุ โรคของระบบประสาท เช่น อัมพาต ระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม เบาหวาน แอลกอฮอร์ ภาวะทุโภชนาการ และโรคของสมองส่วนที่ควบคุมการทรงตัว ความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่า จากการใช้ยาบางชนิด หรือเกิดภายหลังการนอนที่นานเกินไป ภาวะทางจิต เช่น ความเครียดหรือซึมเศร้าก็อาจมีส่วนเช่นกัน การที่ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวน้อยลงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดดำ และกระจายไปที่ปอดได้ และทำให้เกิดความถดถอยของระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย การฟื้นตัวจะใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ ดังนั้นการป้องกันการนอนบนเตียงที่นานเกินจำเป็นจึงมีความสำคัญมาก และเน้นการเคลื่อนไหวให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด

4.
การเคลื่อนไหวลำบาก อันเนื่องจากอาการปวด อ่อนแอ การเสียการทรงตัว และปัญหาทางจิตทำให้ผู้สูงอายุต้องนอนอยู่เฉยๆ อาการอ่อนแรงอาจมีสาเหตุจากโรคของกล้ามเนื้อ ภาวะทุโภชนาการ ความผิดปกติของเกลือแร่ โลหิตจาง ความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อนอกจากนี้อาจมีสาเหตุร่วมจากโรคทางข้อ เช่น รูมาตอยด์ เก๊าท์ โรคพากินสัน และยารักษาโรคจิต อาการเจ็บปวดจากสาเหตุหลายประการ ทำให้ผู้สูงอายุไม่อยากเคลื่อนไหวได้

5.ผลกระทบจากการใช้ยา ด้วยเหตุผลหลายประการทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสจะมีผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่าคนทั่วไป 2-3 เท่า การกำจัดของในร่างกายช้าลงมาก เนื่องจากการทำงานของไตและตับเสื่อมลง การตอบสนองต่อยาก็ต่างจากคนทั่วไป เช่น จะไวต่อยาตระกูลฝิ่น และยาต้านการแข็งตัวของเลือด แต่จะตอบสนองต่อยาต้านบีต้าลดลงกว่าปกติ ผู้ป่วยสูงอายุอาจมีภาวะผิดปกติหลายอย่าง จึงมีโอกาสได้รับยาหลายขนานทั้งที่แพทย์สั่งและซื้อกินเอง โอกาสเกิดผลข้างเคียงจึงมากขึ้น ดังนั้นการเลือกใช้ยาเท่าที่จำเป็นและอย่างเหมาะสมจึงจำเป็นมาก เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียดังกล่าว

การป้องกัน

โดยส่วนใหญ่ภาวะต่างๆ สามารถป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ หรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคตั้งแต่ต้นได้ดังนี้•การให้อาหารที่มีพลังงานเพียงพอ ให้แคลเซียม 1,500 mg/วัน อาจร่วมกับไวตามิน D เสริม
•หลีกเลี่ยงบุหรี่และแอลกอฮอร์ ศึกษายาต่าง ๆ ที่ผู้สูงอายุได้รับ
•ควบคุมความดันโลหิตสูง
•ตรวจสอบการมองเห็น และการได้ยิน
•ตรวจสุขอนามัยในช่องปากและฟัน

ส่งเสริมให้ออกกำลังกาย ซึ่งนอกจากจะมีผลดีต่อภาวะหัวใจและหลอดเลือด ควบคุมระดับน้ำตาล เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยให้อารมณ์การเข้าสังคมดีขึ้น ช่วยให้นอนหลับ และป้องกันท้องผูกได้ ปรึกษารูปแบบของการออกกำลังกายที่เหมาะสมจากแพทย์

ที่มา : นพ.สุเทพ อาชานันทกุล, พญ.จันทนา อาชานัยนันท์
Lukhgai
แม่ไข่ตุ๋น พ่อไข่ต้ม
 
โพสต์: 21
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร พ.ค. 24, 2011 6:38 am

ย้อนกลับไปยัง คลีนิคชาวครัว

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน