ครัวไกลบ้านได้ทำการปรังปรุงเวบไซต์ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นในระบบสมาร์ทโฟน และได้รวมข้อมูลเมนูอาหารและ สมาชิกจากทั้งเวบไซต์เก่าและใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว

สมาชิกท่านไหนมีปัญหาไม่สามารถล็อกอินได้ ให้ทำการเปลี่ยนพาสเวิร์ดโดยคลิ๊กลิ้งค์นี้ ลืมรหัสผ่าน
ถ้าท่านใดมีชื่อสมาชิกมากกว่าหนึ่งชื่อแล้วต้องการรวมโพสทั้งหมดให้อยู่ในชื่อสมาชิกเดียว หรือมีปัญหาในการใช้เวบไซต์
สามารถส่งอีเมล์แจ้งรายละเอียดมาได้ที่ admin@kruaklaibaan.com หรือส่งข้อความได้ที่ user: sillyfooks

ถ้าชอบครัวไกลบ้าน อย่าลืมคลิ๊กไลค์เฟสบุ๊คให้ครัวไกลบ้านด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

หมากัด แมวกัด แมวข่วน

ห้องนี้สำหรับสมาชิกพูดคุย ปรึกษาปัญหาเรื่องสุขภาพค่ะ

โพสต์โดย หนูป้อม » อาทิตย์ ก.ย. 26, 2010 3:18 pm

<span style='font-size:14pt;line-height:100%'>การปฎิบัติตัวเมื่อโดนหมากัด แมวกัด แมวข่วน
(ขออนุญาตเรียกหมานะจ๊ะ....)

เมื่อโดนกัด ข่วน ที่ๆถูกกัด ถูกข่วน ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด พร้อมฟอกสบู่ โดยพยายามล้างให้ลึกเข้าไปในที่ๆโดนกัดโดนข่วน

แล้วให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ 70% ทำ ความสะอาดแผล เอา(ยิ่งแมวนี่อันตรายยิ่งกว่าหมาอีก....ถ้าแมวจรจัดยิ่งต้องรีบไปฉีดยาเลย)

ถ้าโดนกัดลึกมากแล้วเลือดออกเยอะ ปล่อยให้เลือดไหลออกไปก่อน....อย่าเพิ่งไปเช็ดเนื่องจากว่าน้ำลายของสัตว์อาจมีเชื้อไวรัส

รีบไปพบแพทย์ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และป้องกันบาดทะยัก(ขอบอกว่าจะปวดในเข็มแรก)

แล้วก็สังเกตหมาแมว(สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)ที่กัด หากเป็นสัตว์เลี้ยงไม่ว่าของเรา ของเพื่อนบ้าน

ของญาติเนี่ยดูอาการ 10 วัน แล้วถ้าเกิดตายขึ้นมา ให้ส่งไปชันสูตรภายใน 24 ชั่วโมง

ที่ติดต่อ
(สำนักโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค)
<a href='http://www.kmddc.go.th/onlinemarketitem.aspx?itemid=3950' target='_blank'>http://www.kmddc.go.th/onlinemarketitem.aspx?itemid=3950</a>
(หรือ ปศุสัตว์ในพื้นที่)
<a href='http://www.dld.go.th/th/' target='_blank'>http://www.dld.go.th/th/</a>


ข้อควรระมัดระวัง ไม่สัมผัสซากสัตว์หรือของเหลวจากสัตว์เพราะว่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

เชื้อไวรัสก่อโรคพิษสุนัขบ้าจะตายได้เร็ว เมื่อเจอน้ำยาฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ ,ทิงเจอร์ไอโอดีน,สบู่ ,ฟอร์มาลีน</span>
<img src='http://images.lovelovekitty.multiply.com/image/oRDcKeSOhJP29Y7O0WLamA/photos/1M/300x300/2163/dMy-DocumentsMy-PicturesMiscL8066944-0.jpg?et=86rooCd76XJH4ZwkffO8Qw&nmid=0&nmid=340064964' border='0' alt='user posted image' />
ภาพประจำตัวสมาชิก
หนูป้อม
แม่ไข่ดาว พ่อไข่เจียว
 
โพสต์: 364
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ต.ค. 27, 2009 1:42 pm

โพสต์โดย หนูป้อม » อาทิตย์ ก.ย. 26, 2010 3:24 pm

<span style='font-size:11pt;line-height:100%'>Vero rabies vaccine และ TRCS

ที่ รพ. ใช้ Vero rabies vaccine ที่ผลิตโดยองค์การเภสัช บางครั้งก็ใช้ TRCS อยากทราบว่า

1. กรณีโดนสุนัขกัด (ประวัติก่อนหน้าไม่เคยโดนสุนัขกัดมาก่อน) จะฉีดแค่ 3 เข็มได้หรือไม่

2. กรณีเคยถูกสุนัขกัดมาแล้ว (น้อยกว่า 6 เดือน) จะฉีดกระตุ้นอีกกี่เข็มครับ

3. กรณีเคยถูกสุนัขกัดมาแล้ว (มากกว่า 6 เดือน) จะฉีดกระตุ้นอีกกี่เข็มครับ หรือให้เริ่มฉีดใหม่เลย

4. การฉีดVero rabies vaccine ที่ผลิตโดยองค์การเภสัช / TRCS อยากทราบว่าหลังฉีดครบ dose แล้วจะอยู่ได้นานเท่าไรครับ

5. หลังจากฉีดกระตุ้น จะอยู่ได้นานเท่าไรครับ




ข้อบ่งใช้


• ทีอาร์ซีเอส-วีโรแรป ใช้ฉีดป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งชนิดป้องกันล่วงหน้า

(Pre-exposure immunization) และหลังสัมผัสโรค (Post-exposure immunization)

คำแนะนำ/ขนาดการให้วัคซีน

<span style='color:purple'>• ก) การฉีดป้องกันล่วงหน้า(Pre-exposure immunization)

<span style='color:orange'>-ให้ฉีด 3 เข็ม เข็มละ 0.5 ซีซี เข้ากล้ามในวันที่ 0,7,21 หรือ 28 หลังจากนั้น 1 ปี จึงฉีดกระตุ้น

อีก 1 เข็ม

-การให้วัคซีนกระตุ้นซ้ำ : ครั้งละ 1 เข็ม ทุกๆ 5 ปี หรือเมื่อตรวจพบภูมิคุ้มกันต่ำกว่า 0.5 IU/ml



<span style='color:purple'>• ข) การฉีดป้องกันหลังสัมผัส (Post-exposure immunization)


<span style='color:green'>1) การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular schedule) : ในรายที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน

ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนเลย จะต้องฉีดวัคซีนเข้ากล้ามจำนวนทั้งหมด 5 เข็ม โดยฉีดใน

วันที่ 0,3,7,14 และ 28 หลังจากสัมผัสกับสัตว์ที่สงสัยหรือตรวจสอบแล้วว่าบ้า ส่วนในรายที่

บาดแผลรุนแรง ควรใช้อิมมูโนโกลบุลินโดยเร็วที่สุด และในรายที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนเซลล์

เพาะเลี้ยง (cell culture vaccine) ที่มีความแรง ?2.5 IU/Dose ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจนครบ

ชุดแล้ว และมีใบรับรองว่าฉีดครบจริงภายในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ให้ฉีดวัคซีน 2 เข็มในวันที่ 0 และ 3



<span style='color:green'>2) การฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง (Intratermal schedule) : Dose ของการให้ i.d. (1 i.d. dose)

ประกอบด้วยวัคซีนที่ละลายแล้ว 0.1 ซีซี หรือ 1/5 ของ i.m. dose ให้ทางหน้าแขนหรือแขน

ส่วนบน ส่วนในรายที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนเลย แนะนำใฉีด

ตามตารางการฉีดของสภากาชาดไทย (TRCS) คือ 222011 ดังนี้

- ฉีด i.d. 2 เข็ม เข็มละ 0.1 ซีซี ที่บริเวณต่างๆกันในวันที่ 0,3,7

- ฉีด i.d. 1 เข็ม เข็มละ 0.1 ซีซี ที่จุดเดียวในวันที่ 28 (หรือ 30) และ 90 ในรายที่เคยได้รับการ

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจนครบชุดแล้ว

- ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำ ในขนาด 0.1 ซีซี ในวันที่ 0,3 ทันที

<span style='color:gray'>วิธีการบริหารยา

- ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน (deltoid region) ในผู้ใหญ่ หรือ หน้าขา

(anterolateral side of the thigh) ในเด็กเล็ก

- ห้ามวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อสะโพก (gluteral region)

- บางกรณีอาจฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง (intradermal route) ได้

- ผสมฉีดวัคซีนชนิดแห้งแข็งกับตัวทำละลายที่มีมาด้วยกัน จะได้สารละลายเนื้อเดียวกัน และ

ปราศจากอนุภาค

- วัคซีนที่ผสมแล้วใช้ทันที

- ไซรินจ์ที่ใช้แล้ว ควรทำลายทิ้ง

ข้อควรระวังในการเก็บรักษา
• ควรเก็บที่อุณหภูมิ +2° c ถึง +8 °c

ที่มาhttp://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=2896&gid=1</span></span></span></span></span></span></span>[/COLOR]
<img src='http://images.lovelovekitty.multiply.com/image/oRDcKeSOhJP29Y7O0WLamA/photos/1M/300x300/2163/dMy-DocumentsMy-PicturesMiscL8066944-0.jpg?et=86rooCd76XJH4ZwkffO8Qw&nmid=0&nmid=340064964' border='0' alt='user posted image' />
ภาพประจำตัวสมาชิก
หนูป้อม
แม่ไข่ดาว พ่อไข่เจียว
 
โพสต์: 364
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ต.ค. 27, 2009 1:42 pm

โพสต์โดย หนูป้อม » อาทิตย์ ก.ย. 26, 2010 3:42 pm

ข) การฉีดป้องกันหลังสัมผัส (Post-exposure immunization)


1) การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular schedule) : ในรายที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน

ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนเลย จะต้องฉีดวัคซีนเข้ากล้ามจำนวนทั้งหมด 5 เข็ม โดยฉีดใน

วันที่ 0,3,7,14 และ 28 หลังจากสัมผัสกับสัตว์ที่สงสัยหรือตรวจสอบแล้วว่าบ้า ส่วนในรายที่

บาดแผลรุนแรง ควรใช้อิมมูโนโกลบุลินโดยเร็วที่สุด และในรายที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนเซลล์

เพาะเลี้ยง (cell culture vaccine) ที่มีความแรง ?2.5 IU/Dose ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจนครบ

ชุดแล้ว และมีใบรับรองว่าฉีดครบจริงภายในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ให้ฉีดวัคซีน 2 เข็มในวันที่ 0 และ 3




ที่ได้ฉีดมาจะต้องฉีดวัคซีนเข้ากล้ามจำนวนทั้งหมด 5 เข็ม

การฉีดวัคซีน VERORAB เข้ากล้ามเนื้อ (IM REGIMEN)วันที่ 0,3,7,14 และ 30 อ่ะ
<img src='http://images.lovelovekitty.multiply.com/image/oRDcKeSOhJP29Y7O0WLamA/photos/1M/300x300/2163/dMy-DocumentsMy-PicturesMiscL8066944-0.jpg?et=86rooCd76XJH4ZwkffO8Qw&nmid=0&nmid=340064964' border='0' alt='user posted image' />
ภาพประจำตัวสมาชิก
หนูป้อม
แม่ไข่ดาว พ่อไข่เจียว
 
โพสต์: 364
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ต.ค. 27, 2009 1:42 pm

โพสต์โดย หนูป้อม » อาทิตย์ ก.ย. 26, 2010 3:46 pm

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัข บ้า (Rabies vaccine) ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม1-3 คือ


1.วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งได้แก่

§Purified Vero cell rabies vaccine (PVRV) ชื่อการค้าคือ TRCS-VERORAB

§Human diploid cell rabies vaccine (HDCV)

§Purified chick embryo cell culture rabies vaccine (PCEC)


2. วัคซีนไข่เป็ดฟักชนิดบริสุทธิ์ คือ Purified Duck Embyro Cell Rabies Vaccine (PDRV)


ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้สูตรการฉีดวัคซีนในผู้ป่วย ภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าเพียง 4 สูตร3 คือ

1.การฉีดเข้ากล้ามเนื้อแบบวิธีมาตรฐาน: การให้วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยงหรือวัคซีนไข่เป็ดฟักชนิดบริสุทธิ์ 1 หลอด ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหัวไหล่และบริเวณต้นขาในผู้ใหญ่และเด็ก ตามลำดับ ฉีดในวันที่ 0, 3, 7, 14 และวันที่ 28 หรือ 30

2.การฉีดเข้ากล้ามเนื้อแบบ 2-1-1: การให้วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยงหรือวัคซีนไข่เป็ดฟักชนิดบริสุทธิ์ 2 หลอดในวันที่ 0 ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหัวไหล่ 2 ข้างๆ ละ 1 หลอด และให้อีก 1 หลอดในวันที่ 7 และ 21 หรือ 28

3.การฉีดเข้าในผิวหนังแบบสภากาชาดไทย 2-2-2-0-1-1: การให้วัคซีนเซลล์เพาะเลี้ยงหรือวัคซีนไข่เป็ดฟักชนิดบริสุทธิ์ ฉีดเข้าในผิวหนังโดยใช้ปริมาณ 0.1 ซีซี จำนวน 2 จุด ในวันที่ 0, 3 และ 7 และฉีด 1 จุด ในวันที่ 28หรือ 30 และวันที่ 90

4.การฉีดเข้าในผิวหนังแบบหลายจุด: โดยการใช้วัคซีนขนาด 0.1 ซีซี ของวัคซีน HDCV และ PCEC ฉีดเข้าใน ผิวหนังบริเวณหัวไหล่ ต้นขา สะบักด้านหลังทั้งสองข้าง และบริเวณหน้าท้องด้านล่างสองข้าง (ทั้งหมด 8 จุด)ในวันที่ 0 ฉีดขนาดเดียวกันบริเวณหัวไหล่ ต้นขา (ทั้งหมด 4 จุด) ในวันที่ 7 และฉีดในวันที่ 30 และ 90 ครั้งละ 1 จุดบริเวณหัวไหล และสูตรนี้ไม่สามารถทำให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคได้ในช่วงสัปดาห์แร ก ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับ Raabies Immune globulin (RIG) ร่วมด้วยเสมอ




การฉีดวัคซีนแบบ 5 เข็ม กรณีฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อแบบวิธีมาตรฐานตามที่องค์การอนามัยโลก แนะนำ ในวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 28 หรือ 30 เป็นวิธีการฉีดป้องกันโรคภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (Post-exposure vaccination) สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปรกติ เมื่อพิจารณาจากจำนวนเข็มที่ผู้ป่วยฉีดไปแล้ว 2 เข็ม ซึ่งน่าจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ป่วยได้แล้ว และเนื่องจากมีการศึกษาพบว่าการฉีดวิธีนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายส ร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคเกิดขึ้นได้ดี ผู้ป่วยทุกคนจะมีภูมิคุ้มกันตรวจพบได้ตั้งแต่วันที่ 10 – 14 และพบว่า rabies neutralizing antibody (Nab titer) จะขึ้นสูงมากกว่า 0.5 IU/ml ในวันที่ 14 ของการฉีด ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่เพียงพอในการป้องกันโรค และวัคซีนที่ให้ในวันที่ 21 หรือ หลังจากนั้น จะทำให้ภูมิคุ้มกันอยู่ได้นานขึ้น แต่ไม่แนะนำให้เปลี่ยนชนิดของวัคซีนหรือวิธีการฉีดวัคซีนป้องกั นโรคพิษสุนัขบ้าในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจากที่อื่นมาก่อ น ยกเว้นในกรณีที่ใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วัคซีนทุกชนิดสามารถทดแทนกันได้ 3


ดังนั้น จะสามารถเปลี่ยนมาใช้ VerorabÒ แทน PCEC ได้ถ้าหากเข็มที่ผ่านมาฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ แต่จะไม่แนะนำให้เปลี่ยนวิธีการฉีดและชนิดของวัคซีนหากเข็มที่ผ่านมาใช้วิธีฉีดเข้าในผิวหนัง เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย



เอกสารอ้างอิง

1.แนวทางการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่สำหรับประชาชน [monograph on the Internet]. ราช วิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคภูมแพ้และอิมมูโนวิทยา และสมาคมโรคระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. [place unknown: publisher unknown]; c2006 [date unknown; cited 2006 Dec 5]. Available from: <a href='http://www.rcpt.org/guidelines/22-vaccineprogram.pdf' target='_blank'>http://www.rcpt.org/guidelines/22-vaccineprogram.pdf</a>.

2.ดุสิต สถาวร. คู่มือวัคซีน 2006 สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. ใน: เกรียงศักดิ์ ลิมป์กิตติกุล, พรเทพ จันทวานิช, บรรณาธิการ. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (rabies vaccine). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส, 2549: 115-22.

3.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์. วัคซีนและโรคติดเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน. ใน: ธีรพงษ์& ตัณฑวิเชียร, บรรณาธิการ. วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส, 2548: 171-89.

ที่มาhttp://webcache.googleusercontent.com
<img src='http://images.lovelovekitty.multiply.com/image/oRDcKeSOhJP29Y7O0WLamA/photos/1M/300x300/2163/dMy-DocumentsMy-PicturesMiscL8066944-0.jpg?et=86rooCd76XJH4ZwkffO8Qw&nmid=0&nmid=340064964' border='0' alt='user posted image' />
ภาพประจำตัวสมาชิก
หนูป้อม
แม่ไข่ดาว พ่อไข่เจียว
 
โพสต์: 364
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ต.ค. 27, 2009 1:42 pm

โพสต์โดย หนูป้อม » อาทิตย์ ก.ย. 26, 2010 3:54 pm

สัตว์กัด
อุบัติการณ์ของผู้ที่ถูกสัตว์กัดที่ได้จากสถิติต่างๆ มักน้อยกว่าที่เกิดขึ้นจริงเสมอ เพราะประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมักได้รับบาดเจ็บไม่รุนแรง จึงไม่ได้มาพบแพทย์ สัตว์ที่กัดส่วนใหญ่คือสุนัขกัด รองลงมาได้แก่ แมว และคน
บาดแผลที่เกิด จากการถูกสัตว์ทุกชนิดกัดถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อบาดทะยัก ดังนั้นในการรักษาต้องคำนึงถึงการป้องกันโรคบาดทะยักด้วยทุกราย ส่วนโรคพิษสุนัขบ้า ให้พิจารณาเป็นรายๆ ดังในรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป
สุนัขกัด
บาด แผลสุนัขกัดเป็นบาดแผลที่พบบ่อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัดทั้งหมด แผลที่เกิดขึ้นมีโอกาสติดเชื้อได้ร้อยละ 5-20 ส่วนใหญ่มักถูกกัดเมื่อมีการยั่วยุ เช่น การห้ามสุนัขที่กำลังกัดกัน การหยอกล้อและทำให้สุนัขเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจ การให้อาหารหรืออุ้ม เป็นต้น ในกรณีที่ถูกกัดโดยไม่มีเหตุผลให้สงสัยไว้ก่อนว่าสุนัขที่กัดเป็นโรคพิษ สุนัขบ้าและให้การรักษาเหมือนถูกสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดทันที เหยื่อมักเป็นเด็กชาย สุนัขที่กัดก็มักเป็นสุนัขที่คุ้นเคย ตำแหน่งที่ถูกกัดขึ้นอยู่กับอายุของเหยื่อ ถ้าเป็นเด็กจะพบถูกกัดบริเวณหน้าบ่อยกว่า แต่ในผู้ใหญ่มักเป็นบริเวณแขน ขา
ข้อควรปฏิบัติเมื่อสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า
• ล้างแผลด้วยน้ำสบู่หลายๆ รอบ หรือในกรณีสัมผัสทางเยื่อบุ ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ รอบ การล้างแผลมีความสำคัญมากเพราะจากการทดลองพบว่าการล้างแผลด้วยน้ำสบู่ ธรรมดาๆ สามารถลดโอกาสติดเชื้อได้อย่างมาก ถ้ามีน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัส เช่น povidone-iodine solution(Betadine) ก็อาจนำมาล้างแผลได้
• ส่งโรงพยาบาล พิจารณาให้วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า และบาดทะยัก

แมวกัด
พบ บ่อยเป็นอันดับสอง คิดเป็นร้อยละ 5-20 ของผู้ถูกสัตว์กัดทั้งหมด แผลที่เกิดจากการถูกแมวกัดมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น คือ ร้อยละ 15-50 หรือมากกว่าแผลที่เกิดจากสุนัขกัดถึง 2 เท่า เนื่องจากฟันของแมวมีขนาดเล็กและแหลมคมมากกว่า สามารถทะลุทะลวงได้ลึกกว่า จึงมีโอกาสกัดเข้าข้อต่อหรือกระดูกและทำให้มีการติดเชื้อมากกว่าเมื่อถูก สุนัขกัด เหยื่อที่ถูกแมวกัดมักเป็นผู้หญิง ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ แขน มือ ส่วนที่พบน้อยคือ หน้า คอ ขา และลำตัว
คนกัด
อาจเกิดจากการทำ ร้ายตัวเอง ถูกผู้อื่นทำร้าย โดยมักเกิดขึ้นในขณะที่มีการต่อสู้ หรืออาจเกิดกับบุคลากรทางการแพทย์ในขณะให้การดูแลผู้ป่วย พบบ่อยบริเวณมือ แขน (ร้อยละ 60-75) หน้าและคอ (ร้อยละ 15-20) ลำตัว (ร้อยละ 10-20) และ ขา (ร้อยละ 5) แผลที่เกิดจากคนกัดเป็นแผลที่มีโอกาสติดเชื้อมากที่สุดในบรรดาแผลที่ถูกกัด ทั้งหมด แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
• แผลที่เกิดจากการใช้ฟันกัดลงบนเนื้อ
• แผลที่เกิดขึ้นในระหว่างการต่อสู้ เมื่อฝ่ายหนึ่งกำมือชกถูกฟันของอีกฝ่ายหนึ่ง มีความสำคัญเพราะเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงได้บ่อย เพราะเส้นเอ็นที่ปนเปื้อนเชื้อหดตัวกลับเข้าไปใต้ผิวหนัง ทำให้มีการปนเปื้อนของเนื้อเยื่อเป็นบริเวณกว้าง ยิ่งกว่านั้นผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ล่าช้าการดูแลรักษา

การประเมิน
ผู้ ที่ถูกสัตว์กัด โดยเฉพาะเด็กเล็ก ต้องคำนึงถึงการบาดเจ็บอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วย เช่น การถูกกระแทกโดยอุ้งมือของสัตว์ ถูกทับโดยน้ำหนักตัวของสัตว์ ฟันและอุ้งเท้าสัตว์สามารถเจาะเข้าไป ได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ถ้าถูกสัตว์ขบกัดบริเวณหนังศีรษะ หรือใบหน้า ต้องตรวจบาดแผลให้ละเอียดและต้องตรวจทางรังสีทุกรายเพราะบาดแผลอาจทะลุเข้า ช่องกระโหลกได้ ผู้ป่วยเหล่านี้ควรได้รับการรักษา โดยถือหลักเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับภยันตรายชนิดอื่นควบคู่ไปด้วย
การดูแลแผล
การ ทำความสะอาดแผลเฉพาะที่สามารถช่วยลดโอกาสเกิดการติดเชื้อ และยังช่วยฟื้นฟูสภาพการทำงาน ทำให้กลับมาใช้งานได้ดีดังเดิม การทำความสะอาดแผลเป็นหัวใจของการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้โดยผิวหนังบริเวณรอบๆ แผลสามารถฟอกด้วยฟองน้ำนุ่มๆ และน้ำเกลือล้างแผลหรือ 10% povidone-iodine ส่วนในบริเวณแผล
สำหรับการเย็บปิดแผล ถ้าเป็นแผลบริเวณใบหน้าซึ่งเป็นแผลที่ต้องการความสวยงาม เกิดขึ้นภายใน 12 ชั่วโมงและเป็นชนิดไม่รุนแรง และไม่ใช่แผลที่เกิดจากคนกัด สามารถเย็บปิดหลวมๆ ได้หลังจากล้างแผลสะอาดดีแล้วโดยไม่ทำให้อัตราการติดเชื้อสูงขึ้นแต่อย่างใด
แผลบริเวณมือ ต้องการการดูแลรักษาเพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ดีที่สุด เนื่องจากประมาณหนึ่งในสามของแผลสุนัขกัดที่มือจะเกิดการติดเชื้อตามมา ดังนั้นวิธีที่แนะนำคือการทำความสะอาดแผลเท่านั้น แล้วรอให้แผลค่อยๆ ปิดเอง ถ้ามีการฉีกขาดของเส้นประสาทหรือเส้นเอ็นจึงค่อยมาซ่อมแซมภายหลัง การรักษาควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญและทำในห้องผ่าตัด ในรายที่มีการติดเชื้อชัดเจน โดยเฉพาะหลังจากถูกกัดมากกว่า 24 ชั่วโมงควรให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำด้วย
ในรายที่มีความเสี่ยงสูงควร พิจารณาเปิดแผลโดยการรอให้แผลปิดเองและนัดมาทำความสะอาดแผลตามความเหมาะสม หรือรอจนแผลสะอาดดีแล้วจึงเย็บปิดแผลในวันต่อๆ มา ส่วนแผลที่มีความเสี่ยงต่ำอาจพิจารณาเย็บปิดแผลทันทีหลังจากล้างแผลจนสะอาด ดีแล้ว แผลแบบเจาะ ไม่ควรเย็บปิดเพราะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง

: ปัจจัยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อสำหรับแผลสัตว์กัด
บาดแผลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
ตำแหน่งของบาดแผล
• มือ ข้อมือ เท้า
• หนังศีรษะหรือหน้าในเด็กทารก (เสี่ยงต่อการทะลุของกระโหลกศีรษะ จำเป็นต้องตรวจทางรังสี)
• บริเวณข้อต่อขนาดใหญ่ (เสี่ยงต่อการทะลุเข้าข้อ)
• บาดแผลบริเวณแก้มที่ทะลุเข้าช่องปาก
ชนิดของบาดแผล
• บาดแผลเจาะ (ทำความสะอาดให้ทั่วถึงได้ยาก)
• บาดแผลที่มีเนื้อเยื่อถูกบดขยี้ร่วมด้วยและไม่สามารถเล็มเนื้อตายออกได้หมด
• บาดแผลจากสัตว์กินเนื้อ (เช่น เสือ สิงโต) กัดบริเวณที่มีอวัยวะสำคัญ (เช่น หลอดเลือด เส้นประสาท ข้อต่อ)
• บาดแผลที่มีสิ่งแปลกปลอมตกค้าง เช่น เศษฟัน
ระยะเวลาตั้งแต่ถูกกัดจนมาพบแพทย์
• มากกว่า 24 ชั่วโมง
ปัจจัยของผู้ป่วยเอง
• อายุมากกว่า 50 ปี
• เคยถูกตัดม้ามหรือไม่มีม้าม
• ติดสุราเรื้อรัง
• ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
• เบาหวาน
• เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
• ได้รับยา steroid เป็นเวลานาน
• ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจ หรือมีลิ้นหัวใจหรือข้อเทียม
• ส่วนที่ถูกกัดบวมเนื่องจากมีความผิดปรกติของหลอดเลือดดำหรือระบบน้ำเหลืองอยู่ก่อน
ชนิดของสัตว์ที่กัด
• คน แมว ลิง และหมู
บาดแผลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ
ตำแหน่งของบาดแผล
• หน้า หนังศีรษะ หู หรือปาก
ชนิดของบาดแผล
• บาดแผลฉีกขาดซึ่งสามารถล้างทำความสะอาดได้ทั่วถึง
ระยะเวลาตั้งแต่ถูกกัดจนมาพบแพทย์
• น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
ชนิดของสัตว์ที่กัด
• หนู
ควร ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่มีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของแผลทุกราย โดยพิจารณาให้ตามชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุุที่พบบ่อย ส่วนการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผลควรให้ในกรณีแผลถูกแมว กัด และแผลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงดัง ส่วนแผลสุนัขกัด การให้ยาปฏิชีวนะมีประโยชน์เฉพาะในกรณีแผลที่มือเท่านั้น โดยทั่วไปควรให้ยาปฏิชีวนะนาน 10-14 วัน สำหรับผู้ป่วยที่มาพบแพทย์หลังถูกกัดเกิน 24 ชั่วโมงโดยไม่มีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของแผลไม่จำเป็นต้องให้ยา ปฏิชีวนะ
Cheeky



ที่มา
<a href='http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.php?t1667.html' target='_blank'>http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/....php?t1667.html</a>
<img src='http://images.lovelovekitty.multiply.com/image/oRDcKeSOhJP29Y7O0WLamA/photos/1M/300x300/2163/dMy-DocumentsMy-PicturesMiscL8066944-0.jpg?et=86rooCd76XJH4ZwkffO8Qw&nmid=0&nmid=340064964' border='0' alt='user posted image' />
ภาพประจำตัวสมาชิก
หนูป้อม
แม่ไข่ดาว พ่อไข่เจียว
 
โพสต์: 364
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ต.ค. 27, 2009 1:42 pm


ย้อนกลับไปยัง คลีนิคชาวครัว

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน
cron