ข่าวจาก <a href='http://manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000114657' target='_blank'>ผู้จัดการออนไลน์</a> เผื่อเป็นประโยชน์และช่วยให้คุณแม่ๆทั้งหลายหายเครียดนะคะ ไม่แน่ใจว่าควรเอาไว้ห้องนี้หรือห้องสุขภาพ ถ้าลงผิดก้อรบกวบผู้ดูแลเวบช่วยย้ายด้วยนะคะ
คุณหมอไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย กรรมการผู้จัดการ และจิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ให้ความเห็นว่า "เรื่อง ของแม่ลาออกจากงานมาเลี้ยงลูกต้องถือเป็นการเสียสละอย่างหนึ่ง บางคนอาจมองว่าสบาย ไม่ต้องไปทำงาน แต่จริง ๆ แล้ว งานเลี้ยงลูกนั้นเหนื่อยมาก ต้องดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีเวลาเข้า-ออกงาน ที่สำคัญ งานเลี้ยงลูกเป็นงานใหญ่ สำคัญ และวัดผลระยะยาว จึงมีโอกาสเป็นไปได้ว่าผู้หญิงที่เคยมีสังคมการทำงาน เมื่อลาออกมาเลี้ยงลูก จะเกิดภาวะซึมเศร้าตามมา"
"ที่สำคัญ ความเจ็บป่วยทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้านี้จะมองไม่เห็นเหมือนทางร่างกาย ถ้าสะสมเป็นระยะเวลายาวนาน ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น การคิดสั้น ฆ่าตัวตาย"
สำหรับแนวทางการป้องกันปัญหา คุณหมอไกรสิทธิ์แนะนำว่า ส่วนหนึ่งขอให้สังเกตจากบุคลิกภาพพื้นฐานของคุณแม่ว่ามีความแข็งแรง สามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตได้มากน้อยเพียงใด ขณะที่ปัจจัยสภาพแวดล้อมก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญตามมาในลำดับต่อไป เช่น ตัวสามี ก็ต้องให้ความเห็นใจ และคอยสนับสนุน หากพบว่า ภรรยาหงุดหงิดง่าย ความอดทนต่ำ ขอให้มองเป็นสัญญาณที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือ หาใช่การถอยห่าง หรือแสดงอาการรำคาญไม่
"นอกจากนั้น ในบรรดาญาติพี่น้อง ก็ไม่ควรมีการเปรียบเทียบ เนื่องจากปัจจัยของแต่ละครอบครัวแตกต่างกัน บางครอบครัวอาจสามารถเลี้ยงลูกไปด้วยทำงานไปด้วยได้ แต่บางครอบครัวที่เลือกการลาออกมาเลี้ยงลูกเต็มเวลา ก็ควรให้การสนับสนุน เพราะต้องอย่าลืมว่าปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เด็กเสียคนนั้นมีมากขึ้นกว่าในอดีตมาก ทั้งยาเสพติด เกมรุนแรง ฯลฯ ฉะนั้น หากความสัมพันธ์ในบ้านแข็งแรง เด็กได้ใกล้ชิดกับพ่อแม่ ก็จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับเด็กได้"
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่กำลังเผชิญหน้ากับภาวะซึมเศร้า อาจมองหาทางแก้ไขเบื้องต้นโดย
1. ประเมินภาวะที่คุณกำลังเผชิญอยู่อย่างตรงไปตรงมา ที่สำคัญต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง ถ้าหากคุณกำลังเกิดความรู้สึกหดหู่อย่างมาก อยากร้องไห้ หรืออยากหนีไปจากสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า ก็ขอให้มองหาญาติ เพื่อน หรือคนสนิทที่คุณไว้วางใจ และบอกเล่าสิ่งต่าง ๆ ให้เขาฟัง รวมถึงขอความช่วยเหลือจากคนสนิทเหล่านั้น
2. เขียนบรรยายถึงสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกไม่มีความสุขลงบนกระดาษ หลังจากที่เขียนเสร็จ อาจอ่านทวนอีกครั้ง และคิดหาวิธีการที่จะแก้ไขสถานการณ์เหล่านั้นให้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น
3. มองหากลุ่มเพื่อนที่จะช่วยสนับสนุนให้คุณสามารถก้าวข้ามผ่านสถานการณ์นี้ได้โดยเร็ว แต่ถ้าเพื่อนหรือญาติสนิทไม่มีเวลาให้คำปรึกษาก็ไม่ต้องเสียใจ ลองมองหาเพื่อนกลุ่มใหม่ ๆ เช่น กลุ่มชุมชนแม่และเด็กบนโลกออนไลน์, ชมรมหรือหน่วยงานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับแม่และเด็ก ฯลฯ แทน เพราะคนกลุ่มนี้ก็จะมีความสนใจ และมีประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกัน สามารถแบ่งปันเรื่องราวกับคุณได้
4. หาเวลาให้กับตัวเอง อาจจะวันละ 1 ชั่วโมง หรืออาจทำความเข้าใจกับสามีในการขอเวลาส่วนตัวเพื่อคลายความเครียดด้วยการไป ช้อปปิ้งในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์แทน เพื่อให้บรรดาคุณแม่มีเวลาเป็นของตัวเอง
5. หากิจกรรมพิเศษทำเมื่ออยู่กับลูก แทนการมองว่าช่วงเวลาแห่งการดูแลลูกเป็นช่วงที่ยุ่งยากน่าเบื่อ ก็หันมองว่าจะหากิจกรรมใดบ้างที่จะทำให้ทั้งคุณและลูกสนุกสนานกับการได้อยู่ ร่วมกันเข้ามาใช้แทน